สงครามฝิ่น 鸦片战争 (The Opium War)
สภาพแม่น้ำจูเจียงในยุคนั้น
ในระหว่างศรรตวรรษที่ 18 ชา ซึ่งเป็นเครื่องดื่มชนิดใหม่สำหรับโลกตะวันตกเป็นที่ต้องการอย่างมหาศาลในตลาดยุโรปและอเมริกา ขณะเดียวกัน ความต้องการผ้าไหมจีนและเครื่องปั้นดินเผาจีน ก็มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง แต่ประเทศจีนซึ่งยังมีกำลังผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงทำให้พ่อค้าตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษเกิดความไม่พอใจ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ชาวอังกฤกจึงหาวิธีทำการค้าใหม่โดยการนำ
สินค้าไปแลกเปลี่ยนกับวัตถุดิบในประเทศอินเดียและประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ แล้วนำวัตถุดิบมาผลิตเป็น อังกฤษสงเรือรบยิงถล่มที่แม่น้ำจูเจียง
สินค้ากึ่งสำเร็จรูปไปขายในกว่างโจวต้นศรรตวรรษที่ 19 ฝ้ายดิบและฝิ่นดิบจึงเป็นสินค้าหลักที่นำเข้าสู่กว่างโจว แต่เนื่องจากประเทศจีนมีกฏหมายห้ามนำเข้าฝิ่น ทางอังกฤกจึงนำเข้าอย่างลับ ๆ โดยผ่านพ่อค้าจีนบางคนที่เห็นแก่ได้หรือผ่านข้าราชการที่โกงกิน
หลังจากรัฐบาลชิงประสบความล้มเหลวในการรณณรงค์ต่อต้านฝิ่น จึงได้แต่งตั้งหลินเจ๋อสวี 林则徐 (ค.ศ. 1785-1850) ไปกว่างโจว เพื่อปราบปรามเส้นทางลำเลียงฝิ่น หลินประกาศให้ผู้ที่ครอบครองฝิ่นให้เอาออกมามอบให้ทางการภายในสามวัน เมื่อพ้นกำหนดจึงได้เข้ายึดคลังสต๊อกฝิ่นจากพ่อค้าคนจีน และเข้าล้อมชุมชนชาวต่างชาติเพื่อเข้ายึดฝิ่นของชาวอังกฤษจำนวนถึง 20,000 ลังและเผาทิ้งทั้งหมด ชาวอังกฤกไม่พอใจอย่างมาก รัฐบาลอังกฤกจึงส่งเรือรบ 40 ลำ พร้อมด้วยกำลังทหารกว่า 4000 นายเข้าตีประเทศจีนจากปากอ่านจูเจียง 珠江 จากการที่รัฐบาลชิงไม่ได้เตรียมการสำหรับสงคราม และประเมินกำลังฝ่ายตรงข้ามต่ำเกินไป รัฐบาลชิงจึงพ่ายแพ้ และถูกบังคับเซ็นสนธิสัญญาหนานจิง 南京条约 ในปี 1842 ซึ่งเซ็นบนเรือรบของอังกฤษ บังคับให้รัฐบาลจีนยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษบังคับให้เปิดเมืองท่า 5 แห่งให้กับอังกฤษ บังคับให้เก็บภาษีเพียง 5เปอร์เซ็น ให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้กับอังกฤษและชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก และยังบังคับให้เปิดช่องให้สิทธิพิเศษแก่อังกฤษ ถ้าหากจีนสิทธิพิเศษใด ๆ แก่ประเทศอื่นในขณะนั้นหรือในอนาคต จะต้องให้แก่อังกฤษด้วย สนธิสัญญานี้ชาวจีนเรียกว่า “ความอัปยศแห่งชาติ” และเป็นเหตุนำสู่การสงคราม การรุกรานและสุดท้ายเกิดสนธิสัญญาอัปยศแก่ ์ ต่างชาติต่อ ๆ มา
ชาวบ้านที่กวางตุ้งเตียมรับมือกับอังกฤษ
หลังจากรัฐบาลชิงประสบความล้มเหลวในการรณณรงค์ต่อต้านฝิ่น จึงได้แต่งตั้งหลินเจ๋อสวี 林则徐 (ค.ศ. 1785-1850) ไปกว่างโจว เพื่อปราบปรามเส้นทางลำเลียงฝิ่น หลินประกาศให้ผู้ที่ครอบครองฝิ่นให้เอาออกมามอบให้ทางการภายในสามวัน เมื่อพ้นกำหนดจึงได้เข้ายึดคลังสต๊อกฝิ่นจากพ่อค้าคนจีน และเข้าล้อมชุมชนชาวต่างชาติเพื่อเข้ายึดฝิ่นของชาวอังกฤษจำนวนถึง 20,000 ลังและเผาทิ้งทั้งหมด ชาวอังกฤกไม่พอใจอย่างมาก รัฐบาลอังกฤกจึงส่งเรือรบ 40 ลำ พร้อมด้วยกำลังทหารกว่า 4000 นายเข้าตีประเทศจีนจากปากอ่านจูเจียง 珠江 จากการที่รัฐบาลชิงไม่ได้เตรียมการสำหรับสงคราม และประเมินกำลังฝ่ายตรงข้ามต่ำเกินไป รัฐบาลชิงจึงพ่ายแพ้ และถูกบังคับเซ็นสนธิสัญญาหนานจิง 南京条约 ในปี 1842 ซึ่งเซ็นบนเรือรบของอังกฤษ บังคับให้รัฐบาลจีนยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษบังคับให้เปิดเมืองท่า 5 แห่งให้กับอังกฤษ บังคับให้เก็บภาษีเพียง 5เปอร์เซ็น ให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้กับอังกฤษและชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก และยังบังคับให้เปิดช่องให้สิทธิพิเศษแก่อังกฤษ ถ้าหากจีนสิทธิพิเศษใด ๆ แก่ประเทศอื่นในขณะนั้นหรือในอนาคต จะต้องให้แก่อังกฤษด้วย สนธิสัญญานี้ชาวจีนเรียกว่า “ความอัปยศแห่งชาติ” และเป็นเหตุนำสู่การสงคราม การรุกรานและสุดท้ายเกิดสนธิสัญญาอัปยศแก่ต่างชาติต่อ ๆ มา
ชาวจีนที่ติดฝุ่นที่อังกฤษนำมาขายอย่างงอมแงม
หลังแพ้สงคราม เจรจาชดใช้บนเรือรบอังกฤษ
สนธิสัญญาหนานจิง 南京条约
ทหารอังกฤษขึ้นฝั่งที่เกาะฮ่องกง เมื่อ 29 ม.ค. 1841
สนับสนุนบทความโดย :
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น