ท้องเสียง่าย นอนไม่หลับ น้ำหนักลด...ต้องสงสัยอาการไทรอยด์เป็นพิษ

    ไทรอยด์เป็นพิษ อาจส่งสัญญาณเตือนด้วยอาการท้องเสียง่าย นอนไม่หลับ หลายคนไม่รู้ว่าเป็นแล้วต้องรีบรักษา เพราะอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้เลย 

          พูดถึงไทรอยด์ ทุกคนก็คงรู้ว่าอวัยวะนี้อยู่ตรงคอ แต่ถ้าถามว่า แล้วรู้ไหมว่าไทรอยด์มีหน้าที่อะไร แล้วถ้าป่วยขึ้นมาจะมีอาการอย่างไรให้สังเกตเห็นได้ หลายคนอาจจะสั่นหัว รู้จักแต่ชื่อ แต่ไม่รู้จริง ๆ ว่าอาการของโรคไทรอยด์เป็นอย่างไร วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลจาก นพ.พิรัตน์ โลกาพัฒนา หรือคุณหมอแมว ที่เขียนอธิบายไว้ให้เราได้รู้กันในนิตยสาร Happy+ ลองมาทำความเข้าใจกันค่ะ 

          "ใจสั่น น้ำหนักลด เหงื่อออกมือมาก เหมือนมีไข้ต่ำ ๆ กลัวจะเป็นไทรอยด์" ประโยคแบบนี้คือสิ่งที่ผมเคยได้ยินเป็นครั้งคราวจากผู้ป่วยที่มาขอคำปรึกษาเรื่องไทรอยด์ บางคนมาด้วยอาการเหล่านี้อย่างสงสัย แต่บางคนก็มาด้วยต้องการตรวจเลือดเรื่องไทรอยด์โดยเฉพาะเลยก็มี 

ไทรอยด์

ไทรอยด์คืออะไร มีหน้าที่อะไร 

          ไทรอยด์ คือ อวัยวะที่อยู่ตรงบริเวณคอใกล้กับลูกกระเดือก มีลักษณะคล้ายผีเสื้อ หน้าที่ของมันคือคอยสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายในกระบวนการเผาผลาญและใช้พลังงาน และมีผลต่อการทำงานของสมองและหัวใจ 

          ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ คือ การที่ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญมากกว่าปกติ 










     ไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากอะไร มีกี่แบบ 

          หลายคนอาจจะงงว่าไทรอยด์เป็นพิษยังจะมีแบ่งลงไปอีกหรือว่าเป็นแบบใด จริง ๆ ไทรอยด์เป็นพิษแบ่งลงไปได้อีกหลายแบบ ได้แก่ 

          - Grave’s Disease เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิดแกติ แทนที่จะไปเล่นงานเชื้อโรคกลับมากระตุ้นต่อมไทรอยด์แทน ทำให้ต่อมไทรอยด์เจอการกระตุ้นจนมีขนาดใหญ่ขึ้น 

          - Plummer’s Disease คือโรคที่มีการโตของต่อมไทรอยด์เฉพาะจุด และเป็นจุดที่สร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ พบได้ทั้งในแบบเป็นก้อนเนื้อหรือเป็นก้อนซีสต์ 

          - Thyroiditis คือ การอักเสบของต่อมไทรอยด์ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดทำให้ฮอร์โมนที่ถูกเก็บอยู่ในต่อมเกิดการรั่วออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการของไทรอยด์เป็นพิษอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นเมื่อการอักเสบหยุดลง อาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง ทั้งนี้ ในบางรายหลังจากมีอาการไทรอยด์เป็นพิษจากโรคนี้ เนื่องจากการอักเสบได้ทำลายเนื้อไทรอยด์ไปบางส่วน 

          - Exogenous Thyroid เกิดจากการรับประทานยาที่ส่วนผสมของฮอร์โมนไทรอยด์เข้าไป เช่น ในกรณีรักษาภาวะก้อนเนื้อที่ไทรอยด์หรือเป็นส่วนผสมในยาลดน้ำหนัก 

          โดยมากเวลาแพทย์บอกว่าเป็นไทรอยด์เป็นพิษ มักจะหมายถึง Grave’s Disease ครับ เนื่องจากถ้าหากเป็นชนิดอื่น ๆ มักจะมีชื่อเรียกอื่นให้เข้าใจได้ง่ายกว่าและการรักษาก็ต่างกันออกไป 

ไทรอยด์

อาการไทรอยด์เป็นพิษ 

          ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะแสดงอาการของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ 

          - หัวใจถูกกระตุ้นการทำงาน ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ใจสั่น ในบางรายที่เป็นมาก ๆ จะมีภาวะหัวใจเต้นเร็วแบบผิดจังหวะได้ 

          - การกระตุ้นระบบที่เกี่ยวกับการเผาผลาญและใช้พลังงาน เหงื่อออกง่าย มือสั่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลง 

          - นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย 

          - ท้องเสียง่าย จากการที่ทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น 

          - ตาโปนกว่าปกติ โดยเนื้อเยื่อหลังนัยน์ตาขยายขนาดขึ้นจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ 

          - ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีทั้งประจำเดือนขาด หรือมาไม่ตรงช่วยมาแบบกะปริบกะปรอย 

          - กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน พอในรายที่ไทรอยด์เป็นพิษแล้วเกิดเกลือแร่โพแทสเซียมต่ำอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการคล้ายอัมพาต ขยับแขนเขาและลำตัวไม่ได้ 

การตรวจโรคไทรอยด์เป็นพิษ 

          เมื่อมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นไทรอยด์เป็นพิษ สิ่งที่จะต้องทำต่อไป ก็คือการตรวจหาว่าตกลงอาการนั้น คืออาการของไทรอยด์หรือไม่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยไปหาแพทย์ด้วยอาการท้องเสียอย่างเดียวไม่มีอาการอื่น ๆ เลย แพทย์ก็คงไม่ได้นึกถึงไทรอยด์ แต่คงจะต้องตรวจเรื่องท้องเสียจากเหตุอื่นไว้ก่อน 

          ในทางกลับกัน บางครั้งผู้ป่วยไปพบแพทย์ด้วยอาการท้องเสีย หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ว่ามีประวัติและลักษณะภายนอกที่เข้าได้กับไทรอยด์เป็นพิษ แพทย์ก็จะตรวจร่างกายหรือซักถามประวัติอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากอาการที่ผู้ป่วยสนใจ 

ไทรอยด์

การตรวจร่างกาย 

แพทย์จะตรวจไทรอยด์ด้วย 

          - การคลำ โดยมักจะคลำจากด้านหลง จากนั้นให้กลืนน้ำลาย เพื่อวัดดูขนาดและตำแหน่งของต่อมไทรอยด์ คลำในเนื้อต่อมไทรอยด์ว่ามีตำแหน่งใดที่โตนูนขึ้นมาหรือไม่ หรือมีก้อนไทรอยด์ในตำแหน่งที่ไม่ควรจะมีหรือไม่ มีการตรวจด้วยการฟังที่ต่อมไทรอยด์เพราะไทรอยด์เป็นพิษที่โตขึ้นอาจจะมีเสียงฟู่จากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงต่อไทรอยด์ได้ 

          - ตรวจตา ตาของผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ อาจจะมีการโปนขึ้นกว่าปกติเล็กน้อยและมีการดึงรั้งหนังตา แพทย์อาจจะขอดูรูปในบัตรประชาชนหรือรูปถ่ายเก่าเปรียบเทียบหากไม่แน่ใจ ในรายที่มีภาวะตาแห้งหรือกระจกตาอักเสบ อาจจะมีการส่งไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาอย่างละเอียดเพิ่มเติม 

          - การตรวจหัวใจ โดยการฟังหัวใจและการคลำชีพจร เพื่อดูความเร็วการเต้นของหัวใจและจังหวะในการเต้นว่าสม่ำเสมอหรือไม่ 

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 

การตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียวมักจะไม่เพียงพอในการวินิจฉัย ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันภาวะนี้ 

          - การตรวจเลือด เพื่อดูค่า Thyrod Hormone (fT3 fT4) ว่ามีฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปกติหรือไม่ 

          - ตรวจ Thyroid Stimulating Hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนจากต่อมได้สมองที่ร่างกายหลั่งออกมา เพื่อกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมน ในกรณีที่มีไทรอยด์เป็นพิษค่า TSH มักจะต่ำ 

          เมื่อตรวจพบว่าฮอร์โมนมีระดับสูงผิดปกติแล้ว อาจะมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ การตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติต่อไทรอยด์อันเป็นสาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษชนิด Grave’s Disease การกลืนรังสี หรือการสแกนต่อมไทรอยด์ เพื่อหาสาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษให้ชัดเจนต่อไป 

การตรวจหาโรคอื่นที่เกิดร่วมหรือตามมาจากไทรอยด์ 

          เนื่องจากไทรอยด์เป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้หลายตำแหน่ง ดังนั้นแพทย์อาจจะต้องตรวจหลาย ๆ อย่างที่ดูแล้วอาจจะไม่เกี่ยวกับไทรอยด์ อย่างเช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อประเมินภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อประเมินขนาดของหัวใจตรวจการทำงานของตับเพื่อประเมินภาวะตับอักเสบ 

ไทรอยด์




สนใจสั่งซื้อ/สมัครตัวแทน
☎️Tel : 096-9326442
Line : @ite5115h



การรักษา 

          การรักษามีด้วยกันสามวิธีหลัก ๆ ได้แก่ 

 การใช้ยากิน 

          ยากินในปัจจุบันมีสองชนิดหลัก ๆ คือ Methimazole และ Propylthiouracil ยาทั้งสองชนิดนี้จะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยจะเริ่มออกฤทธิ์หลังจากรับประทานประมาณ 1-2 เดือน หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายของแต่ละคน โดยในบางรายอาจจะหายขาด ในบางรายอาจจะดีขึ้น และไม่มีอาการอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะกลับมาเป็นไทรอยด์เป็นพิษซ้ำอีกครั้งได้ 

          ยาทั้งสองกลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ อาจจะทำให้เกิดตับอักเสบ และเกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้หากเป็นรุนแรงก็อาจเกิดผลแทรกซ้อนจนถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากรับประทานยาไปประมาณ 1-2 ปีแล้ว ผลเลือดหรืออาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะแนะนำวิธีการรักษาแบบอื่นต่อ 

 การใช้สารรังสี 
          เป็นการให้ผู้ป่วยกินสารรังสีที่เมื่อกินเข้าไป แล้วจะเข้าไปจับที่ตัวต่อมไทรอยด์และแม่รังสีปริมาณน้อย ๆ ออกมา ทำลายเนื้อไทรอยด์ไปบางส่วน ทำให้ระดับฮอร์โมนที่เคยสูงลดต่ำลง ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและใช้กันมานานแล้ว (ในต่างประเทศ ใช้กันมากว่า 60 ปี) ผลแทรกซ้อนที่มีได้ คือ เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำซึ่งอาจจะต้องกินยาฮอร์โมนทดแทน 

 การผ่าตัด 

          ในกรณีที่มีข้อห้ามในการกินยาหรือใช้สารรังสี รวมถึงกรณีที่ต่อมไทรอยด์มีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง แพทย์อาจจะแนะนำวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งข้อดี คือ สามารถได้ชิ้นเนื้อออกมา แต่ข้อเสียคือมีโอกาสที่จะผ่าตัดถูกเส้นประสาทที่ควบคุมเส้นเสียง และอาจผ่าตัดถูกต่อมพาราไทรอยด์ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดที่อยู่ใกล้เคียงกัน หลังการผ่าตัดอาจจะต้องกินยาฮอร์โมนไทรอยด์เสริม และในกรณีที่ผ่าตัดถูกต่อมพาราไทรอยด์ อาจจะต้องกินแคลเซียมเสริมเพิ่มเติม 

          นอกจากการรักษาที่ตัวโรคไทรอยด์เป็นพิษแล้ว ยังมีการใช้ยาในกลุ่ม Betabiocker ซึ่งอยู่ในกลุ่มยาควบคุมความดันโลหิต เพื่อลดอาการที่เกิดจากไทรอยด์เป็นพิษ โดยยาชนิดนี้ จะลดการเต้นของหัวใจ ลดอาการใจสั่นลดอาการมือสั่น โดยแพทย์จะใช้ยานี้จนกว่าการรักษาหลักจะลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ลงจากนั้นจึงจะค่อย ๆ หยุดยานี้ไป 

 ไม่รักษาได้หรือไม่ 

          มีผู้ป่วยบางคนถามอย่างติดตลกว่า จะไม่รักษาเรื่องไทรอยด์เป็นพิษได้หรือไม่ เพราะว่าโรคนี้ทำให้จากเดิมที่เคยเป็นคนอ้วนกลับกลายเป็นผอมเพรียวไปเลย การทำแบบนี้ไม่แนะนำอย่างยิ่งครับ เนื่องจากน้ำหนักลดลงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษเท่านั้น โดยภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวของภาวะไทรอยด์เป็นพิษยังมีหลายอย่าง เช่น ตับอักเสบเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะพายุไทรอยด์ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้แม้จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง 

          ดังนั้นหากมีอาการที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นไทรอยด์เป็นพิษ แนะนำให้ตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีครับ 

สนับสนุนข้อมูล

https://health.kapook.com

เรื่อง นพ.พิรัตน์ โลกาพัฒนา 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาหารเช้า สำคัญไฉน??????

ALL ABOUT HAIR

สงครามฝิ่น 鸦片战争 (The Opium War)