ไขมันทรานส์ คืออะไร ? ทำไมในบางประเทศถึงเป็นสิ่งต้องห้าม!!
ไขมันในอาหารประกอบด้วยกรดไขมัน 3 ชนิด ได้แก่
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันที่ส่งผลให้ระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น พบได้ในเนื้อสัตว์เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ติดมัน เนย ครีม ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ ส่วนในพืช จะพบไขมันอิ่มตัวได้ใน มะพร้าว น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และ เนยโกโก้ เป็นต้น
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fats) ถือเป็นไขมันดี มีมากในถั่วเหลืองเมล็ดแห้ง น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว น้ำมันปาล์มโอเลอิน ถั่วลิสง กรดไขมันชนิดนี้มีผลในการลดระดับโคเลสเตอรอล โดยไม่ลดระดับเอชดีแอล ซึ่งไขมันตัวนี้จะป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
3. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fats) พบได้ในปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทร้าท์ ปลาเฮอร์ริ่ง อะโวคาโด ลูกมะกอก ถั่ววอลนัท น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่งเหลือง น้ำมันเมล็ดคำฝอย น้ำมันคาโนล่า น้ำมันมะกอก และ น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน มีผลในการลดระดับคอเลสเตอรอล ในขณะเดียวกันก็ลดระดับเอชดีแอลด้วย นอกจากนี้ยังพบมากในอาหารทะเล เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องรับประทานจากอาหาร
ไขมันทรานส์ (TRANS FAT) เป็นไขมันประเภทไหน?
กรดไขมันทรานส์ มักพบได้ในอาหารและขนม เช่น เบเกอรี่ หรือ โดนัท ที่ใช้เนยขาว เนยเทียม ครีมเทียม หรือมาการีน น้ำมันที่ใช้ทอดมันฝรั่ง เป็นส่วนผสม และเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเพิ่มระดับไขมันเลว (LDL) และลดไขมันดี (HDL) ในเส้นเลือด ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวานอีกด้วย
ไขมันชนิดนี้เกิดจาก แปรรูปกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fats) ให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัว (saturated fats) โดยการเติมไฮโดรเจน(hydroge nation) ซึ่งบนฉลากอาหาร อีกชื่อหนึ่งของไขมันสังเคร าะห์ชนิดนี้ คือ partially hydrogenated oil ไขมันชนิดนี้เป็นไขมันที่มีลักษณะไม่เป็นไข และสามารถทนกับความร้อนได้สูงมากๆ เลยทีเดียว แถมยังสามารถเก็บไว้นานโดยไม่มีกลิ่นเหม็นหืนใดๆอีกด้วย รวมทั้งให้รสชาติเหมือนกับไขมันที่ได้จากสัตว์ และที่สำคัญที่สุดเลยก็คือทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนมากเพราะมีราคาถูก
ไขมันชนิดนี้เกิดจาก แปรรูปกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fats) ให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัว
อาหารประเภทใดที่มีไขมันทรานซ์บ้าง!!
- แฮมเบอร์เกอร์
- โดนัท
- ขนมขบเคี้ยวต่างๆ
- เฟรนซ์ฟรายส์
- คุกกี้
- เนยขาว, เนยเทียม
- ครีมเทียม
- เค้ก
- แคร็กเกอร์
- วิปครีม
- นักเก็ต
- ไก่ทอด, หมูทอด
- อาหารประเภททอดๆ ที่ต้องใช้น้ำมันหรือไขมันทั้งหลาย
เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศแผนเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกห้ามการใช้ไขมันทรานส์ ซึ่งพบว่ามีความเชื่อมโยงต่ออัตราการเสียชีวิตก่อนวัยแล้วหลายล้านราย
ผลเสียจากไขมันทรานส์ มีให้เห็นในหลายประเทศ เช่น ในอินเดีย และปากีสถาน ที่ร้านอาหารนิยมใช้ น้ำมันเนยใส (vanaspati) ซึ่งทำจากน้ำมันปาล์ม และน่าจะมีส่วนที่ทำให้อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจในหมู่ประชากรเอเชียใต้นั้นสูงผิดปกติ
ในประเทศปากีสถาน ตามผลการศึกษาในวารสาร Nutrition พบว่า ผู้ชายในปากีสถานมีโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายมากกว่า ชาวอังกฤษและเวลส์ถึง 62 % นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้ระบุว่าการนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาอุ่นใช้ซ้ำ ยังจะเพิ่มอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย
ประเทศใดที่แบนไขมันทรานซ์บ้าง?
ประเทศใดที่แบนไขมันทรานซ์บ้าง?
เดนมาร์ก เป็นประเทศบุกเบิกในการห้ามใช้ใขมันทรานซ์ "ซึ่งทำให้มีอีกหลายชาติดำเนินรอยตาม ซึ่งในปัจจุบันมี 7 ประเทศในยุโรปที่แบนการใช้ไขมันทรานซ์ในอาหาร โดยที่ FDA (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ) ได้ห้ามใช้ไขมันทรานซ์โดยให้เวลา 3 ปี ในการเลิกใช้ทั้งหมด ซึ่งครบกำหนดเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา"
ไขมันอิ่มตัวกับไขมันทรานส์ อันไหนแย่กว่ากัน?
ไขมันอิ่มตัว ที่มาจากพวกของทอด หรือพวกกรดไขมันอิ่มตัวอยู่ ซึ่งอาจจะเทียบได้ว่าดีกว่าไขมันทรานส์ ตรงที่ไม่ได้ไปลดไขมันที่ดีในเส้นเลือด แต่ก็จะเพิ่มทั้งไขมันที่ดีและไม่ดี ซึ่งการกินมากเกินไป ก็จะทำเกิดความเสี่ยงเหมือนกัน"
แถมท้าย...ข้อควรรู้ ไขมันทรานส์ ก่อนหน้านี้มีกระแสรณรงค์ต่อต้านไขมันทรานส์มาสักพักแล้วล่ะ โดยมีข้อจำกัดว่าในอาหารจะมีปริมาณไขมันทรานส์ได้เพียงเล็กน้อยตามมาตรฐาน แต่ก็ยังมีช่องว่างในการหลบเลี่ยง ตรงที่ผู้ผลิตหันไปใช้ช่องโหว่เรื่อง "ไขมันทรานส์ 0 กรัม" แทน
เนื่องจากถ้าในอาหารนั้น ถึงจะมีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และน่าจะมีไขมันทรานส์มาด้วย แต่ถ้ามีปริมาณน้อยกว่าตามที่แต่ละประเทศกำหนด ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ก็มีสิทธิเขียนได้ว่า 0 gram trans fat ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ว่าเป็น 0% คือไม่มีอยู่เลย (แต่จริงๆ คือ ไม่ใช่! ยังไงก็ยังมีปนเปื้อนอยู่)
ที่มาข้อมูล
เนื่องจากถ้าในอาหารนั้น ถึงจะมีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และน่าจะมีไขมันทรานส์มาด้วย แต่ถ้ามีปริมาณน้อยกว่าตามที่แต่ละประเทศกำหนด ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ก็มีสิทธิเขียนได้ว่า 0 gram trans fat ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ว่าเป็น 0% คือไม่มีอยู่เลย (แต่จริงๆ คือ ไม่ใช่! ยังไงก็ยังมีปนเปื้อนอยู่)
ที่มาข้อมูล
https://www.bbc.com/thai/
https://th.wikipedia.org/wiki/
https://www.thairath.co.th/
https://www.facebook.com/BangkokHospital.RoyalLife/
https://health.mthai.com
สนับสนุนโดย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น