ถุงลมนิรภัย หรือ ถุงลมมหาภัย!?! เด็กนั่งผิดที่ ชีวิตดับ...


เห็นบทความนี้น่าสนใจ เตือนภัยคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็ก


ถุงลมนิรภัย หรือ ถุงลมมหาภัย!?! เด็กนั่งผิดที่ ชีวิตดับ...
        เป็นไปได้หรือ!?! ถุงลมนิรภัยจะกลายเป็นถุงลมมหาภัยจนคร่าชีวิตผู้โดยสารมานักต่อนัก หลังจากมีข่าวการเสียชีวิตของเด็กน้อยที่นั่งตักคุณแม่ ประสบอุบัติเหตุรถตกหลุมกระแทกจนถุงลมนิรภัยทำงาน เป็นเหตุให้เด็กน้อยกระเด็นไปเบาะหลังเสียชีวิต ที่จังหวัดนราธิวาส จนล่าสุดมีผู้ตั้งกระทู้ในพันทิปว่า รถต้องตกหลุมแรงขนาดไหนที่ถุงลมนิรภัยทำงาน” แถมยังเกิดดราม่า ถกเถียงกันว่าใครผิดระหว่าง “รถ” หรือ “แม่” 
ถุงลมนิรภัย หรือ ถุงลมมหาภัย!?! เด็กนั่งผิดที่ ชีวิตดับ...







   เป็นไปได้ไหม? ถุงลมนิรภัยทำงานเอง แค่รถตกหลุม
     
       เมื่อหลายคนสงสัยว่า รถตกหลุมทำให้ถุงลมนิรภัยทำงานได้จริงไหม? ผู้จัดการ Live ได้สายตรงไปสอบถามกูรูเรื่องรถคนดัง พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ จนได้ความกระจ่างว่า เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ เพราะระบบเซ็นเซอร์ของถุงลมนิรภัยจะอยู่ด้านล่างบริเวณแล็กพวงมาลัย เมื่อเกิดเหตุการณ์รถตกหลุมอย่างเดียวอาจจะไม่มีปัญหา แต่ถ้ารถตกหลุมแล้วกระแทกด้วย เซ็นเซอร์ของถุงลมนิรภัยอาจจะทำงาน ซึ่งในกรณีนี้เด็กอาจจะไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย จึงกระเด็นได้
     
       ผมเตือนทุกครั้งว่า รถที่มีระบบถุงลมนิรภัย คนขับและผู้โดยสารจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง เพราะเมื่อระบบถุงลมนิรภัยทำงาน จะเกิดการกระแทกแรงมากและจะเจ็บมาก เพราะผ้าที่ใช้ทำถุงลมนั้นมีความหยาบคล้ายๆ ผ้ายีนส์ เมื่อมันทำงานและกระแทกโดนใบหน้าและลำตัว อย่างน้อยก็ทำให้ผิวถลอก หากเป็นเด็กเล็กๆ ด้วยแล้ว การที่จะกระเด็นตัวลอยออกไป ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก นั่นคือเหตุผลที่รถทุกคันจะมีคำแนะนำให้เด็กต้องนั่งคาร์ซีทบนเบาะหลัง ยิ่งเด็กเล็กๆ ต้องหันหลังด้วย เพื่อป้องกันการกระแทกจนคอหัก
     
       “จากประสบการณ์ตรงของผม ครั้งหนึ่งผมขับรถตามหลังรถเพื่อน ด้านหน้ารถของเพื่อนมีรถบรรทุกหิน แล้วหินก้อนขนาดลูกฟุตบอลหล่นลงมา กระเด็นเข้าใต้ท้องรถ ซึ่งรถก็ไม่ได้มีแม้แต่รอยขีดข่วน แต่ถุงลมนิรภัยดันทำงานและเด้งออกมา นั่นแสดงว่าก้อนหินคงไปถูกตัวเซ็นเซอร์ของถุงลมฯ ดังนั้นทั้งคนขับและผู้โดยสารที่นั่งเบาะหน้า จึงต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย”


ถุงลมนิรภัย หรือ ถุงลมมหาภัย!?! เด็กนั่งผิดที่ ชีวิตดับ...
ขอบคุณภาพจาก http://www.acnews.net
        เกิดประเด็นถกเถียง แม่ผิดหรือรถผิด!?
     
       หากอ่านแต่ข้อมูลในกระทู้ บางคนเทใจเข้าข้างฝ่ายคุณแม่ เพราะรถแค่ตกหลุมกระแทก ถุงลมนิรภัยต้องทำงานเลยหรือ แต่เมื่อได้ฟังกูรูรถพูดถึงความเป็นไปได้ ผนวกกับหลายความคิดเห็นที่ชี้แจงว่า งานนี้แม่ผิดเต็มๆ ที่ไม่ให้ลูกนั่งคาร์ซีท ประเด็นที่ลูกเสียชีวิตนั้นจึงเข้าข่ายแม่มีความผิดเต็มๆ
     
       “เด็กที่ความสูงไม่พ้นคอนโซลรถควรนั่งเบาะหลัง เด็กเล็กควรนั่งคาร์ซีท กรณีต่อให้ถุงลมไม่ทำงาน ขับช้าแค่ไหน ถ้าต้องเบรกกระทันหันหรือถูกชน แค่หลุดจากอกแม่หัวปักที่วางเท้า ช่องวางแขน หรือกระแทกคอนโซลก็คอหัก กระโหลกร้าว ซี่โครงหักทิ่มปอด และอีกสารพัดได้”
     
       “อืม จริงๆ ไม่ถูกต้องนะคะ เวลานั่งรถ ต้องเอาเด็กไว้เบาะหลัง นอกจากนั้นถ้าเด็กเล็ก (คือยังพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง) ต้องมีเบาะนั่งที่คาดโดยเฉพาะด้วย เพื่อกันอันตราย แต่คนไทยเราไม่ค่อยทำกันจริงจัง เราดูคลิปของต่างชาติที่มีภรรยาเป็นคนไทย เพิ่งดูวันนี้เอง เขามีลูกเล็กมาก เขาเอาลูกไว้เบาะหลัง มีที่คาดแน่นหนามากๆ แต่คนไทยที่เราเห็นนะ แม้แต่ญาติเราเอง ก็อุ้มลูกไว้ที่เบาะหน้า บางคนให้นั่งตรงกลางด้วยซ้ำ ไม่เว้นแม้แต่รถจักรยานยนต์ที่หลายๆ คนไม่ทำที่นั่งเด็ก ให้เด็กยืนตรงช่องว่างด้านหน้า คิดภาพไม่ออกเลยว่าเวลาเด็กพลาดขาตกลงไปจะเป็นยังไง”



                                                    



ถุงลมนิรภัย หรือ ถุงลมมหาภัย!?! เด็กนั่งผิดที่ ชีวิตดับ...
        “เห็นหลายความเห็นใช้คำว่า “เด็กเล็ก” ผมไม่แน่ใจนะครับว่าเด็กเล็กของแต่ละคนเป็นอย่างไร แต่ในคู่มือเรื่องความปลอดภัยเขาระบุไว้เลยนะครับว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี ไม่ควรนั่งหน้า สำหรับรถที่มีถุงลมนิรภัยครับ มีเด็กเสียชีวิตเพราะโดนถุงลมดีดใส่มาไม่น้อยครับ ถึงขนาดคอหักได้เลยครับ”
     
       ในบางความคิดเห็นก็แนะนำว่า ฟ้องบริษัทรถได้เฉพาะเรื่องถุงลมนิรภัยทำงานตอนตกหลุม แต่ลูกเสียชีวิตไม่เกี่ยว เพราะคู่มือรถมีแสดงอยู่แล้วว่าเด็กต้องนั่งคาร์ซีท นอกจากนั้นก็มีความคิดเห็นแสดงความเห็นใจ และโบ้ยไปถึงกรมทางหลวง ควรดูแลท้องถนนไม่ให้เป็นหลุมใหญ่ขนาดทำเอารถกระแทกจนถุงลมนิรภัยทำงาน! 
ถุงลมนิรภัย หรือ ถุงลมมหาภัย!?! เด็กนั่งผิดที่ ชีวิตดับ...
        ถุงลมนิรภัย นั่งไม่ถูกตำแหน่งอาจเสียชีวิตได้
     
       พ่อแม่หลายคนเลือกที่จะให้ลูกนั่งตัก เพราะคิดว่าลูกจะปลอดภัยในอ้อมแขนของพ่อแม่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่หารู้ไม่ว่าในการกระแทกจากการชนของรถแต่ละครั้ง มีพลังมหาศาลจนลูกอาจกระเด็นกระดอนไปไกล จนถึงขั้นเสียชีวิต
     
       ยิ่งกรณีหากถุงลมนิรภัยทำงาน ในขณะที่แม่อุ้มลูกอยู่บนตัก แรงกระแทกจากถุงลมนิรภัยที่ระเบิด สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงต่อเด็กได้ เมื่อถุงลมนิรภัยระเบิดออกมา จะเกิดปฎิกิริยาเคมี ก่อให้เกิดก๊าซในโตรเจน (30-100 ลิตร แล้วแต่รุ่น) อย่างรวดเร็ว ในเวลา 1/20 วินาที ผู้โดยสารจะได้รับความปลอดภัยเสริมจากถุงลมต่อเมื่อนั่งห่างจากถุงลมอย่างน้อย 25 ซม. เท่านั้น หากนั่งใกล้กว่านี้จะเกิดอันตรายจากการกระแทกของถุงลมเอง โดยเฉพาะในเด็กที่นั่งตักแม่ ทำให้เด็กอยู่ห่างจากการกระแทกของถุงลมน้อยเกินไป มีรายงานการเสียชีวิตจากถุงลมในอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงกว่าสองร้อยราย ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นเด็กน้อยกว่าสิบสองปี และการบาดเจ็บของสมองเป็นสาเหตุหลัก
     
       ในแฟนเพจของ Energy Reform ได้เผยถึงความน่ากลัวหากใช้ถุงลมนิรภัยไม่ถูกต้องว่า “เหตุมันก็มีอยู่ว่า “คนที่ใช้รถ ขาดความรู้ความเข้าใจ ในการใช้รถ” อย่าไปโทษรถครับ โทษตัวคุณเองนั่นแหละ สาเหตุในการทำให้ถุงลมนิรภัย กลายเป็นถุงลมมหาภัย ก็มีแยกย่อยเป็นอีกหลายอย่าง อันดับแรกก็คือ “ผู้ขับและผู้โดยสารตอนหน้า ไม่ยอมคาดเข็มขัดนิรภัย” เป็นนิสัยของพี่ไทย ไม่รู้ว่ายังไง แก้ไขไม่ได้ ก็คงต้องปล่อยตามบุญตามกรรม ลำพังไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มันก็อันตรายมากอยู่แล้ว 
ถุงลมนิรภัย หรือ ถุงลมมหาภัย!?! เด็กนั่งผิดที่ ชีวิตดับ...
        สิ่งที่ส่งผลร้ายกับถุงลมนิรภัย ก็คือ “แรงปะทะบวก” เมื่อเกิดการชน แรงที่ชน จะส่งให้ท่านลอยไปข้างหน้าอย่างไร้ทิศทาง และถุงลมเอง มันต้องพองตัวอย่างรวดเร็วในเสี้ยววินาที ตัวคนก็จะวิ่งเข้าไปบวกกับแรงที่ถุงลมพองตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการกระแทกที่รุนแรงทวีคูณ ทำให้เสียชีวิตได้ง่าย ต้นเหตุมันมาอย่างนี้ครับ
     
       ชุดกลไกที่สั่งการให้ถุงลมทำงาน จะอยู่ที่คอพวงมาลัย ถ้ารถที่เปลี่ยนพวงมาลัยแต่งที่ไม่มีถุงลม ก็ต้องถอดออก แต่ไฟโชว์ถุงลมจะทำงาน เพราะระบบไม่ครบถ้วนเหมือนเดิม
     
       ปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์รู้เท่าทัน จึงมีการออกแบบระบบถุงลมนิรภัยใหม่ โดยมีเงื่อนไขว่า “เมื่อไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ระบบจะตัดการทำงานของถุงลมทันที” ผมว่าคาดเข็มขัดนิรภัยเถอะครับ เพื่อความปลอดภัยของชีวิตคุณเอง และต้องระวังอย่างมาก ในส่วนของ “ผู้โดยสารข้างหน้า” ก็ใช้เงื่อนไขเดียวกัน
     
       แต่จะมีข้อควรระวังอีกหน่อย ในกรณีของ “เด็กเล็กนั่งหน้า” จะมีคำเตือนเสมอ ๆ ว่าเด็กเล็กนั่งหน้าจะอันตรายสูงกว่านั่งหลัง เข็มขัดก็คาดได้ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้การรัดตัวไม่เกิดผลดี อีกอย่างหนึ่ง ใต้เบาะนั่งหน้าฝั่งคนนั่ง จะมีระบบ “เซนเซอร์วัดน้ำหนัก” เมื่อไม่มีน้ำหนักคนนั่ง (น้ำหนัก 0 กก.) หรือน้ำหนักไม่ถึงประมาณ 20 กก. ถุงลมจะไม่ทำงานด้วยครับ     
      เมื่อรู้พิษสงของถุงลมนิรภัยแบบนี้แล้ว พ่อแม่ที่อ้างว่า ลูกร้องไห้ไม่ยอมนั่งคาร์ซีท เลยต้องอุ้มมานั่งด้วย หรือบางคนปล่อยให้ลูกนั่งตรงกลางระหว่างเบาะคนขับและคนนั่งด้วยแล้วนั้น ยิ่งเป็นการฆาตกรรมลูกทางอ้อมชัดๆ แล้วทีนี้อย่าคิดเรียกร้องค่าเสียหายจากใคร ให้เค้าด่ากลับก็แล้วกัน


ที่มาบทความ: http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000066470




  สนใจสั่งซื้อ/สมัครตัวแทน 
 
☎️Tel : 096-9326442




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ALL ABOUT HAIR

หยุดทุกโรคจากระบบน้ำเหลืองเสีย... ด้วยศาสตร์ "ภูษาบำบัด"

เกสรทั้ง5 ดอกไม้บำรุงหัวใจ