รู้ล่วงหน้าพรุ่งนี้ฝนตกกี่โมง แอพ"WMApp" ของสจล.

เป็นแอพพลิเคชั่นพยากรณ์อากาศของ สจล. ระบุแม่นยำที่สุดในอาเซียนเชื่อมกูเกิล ดัน “วิทยาลัยวิศวกรรมอวกาศและระบบโลก” เป็นศูนย์กลางข้อมูลฝนและการพยากรณ์อากาศของประเทศ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดตัวระบบพยากรณ์อากาศและแอพพลิเคชั่น “WMApp” ที่มีความแม่นยำและความละเอียดสูงที่สุด รายเขตปกครองในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ “อาเซียน” เชื่อมต่อระบบแผนที่ Google Maps สามารถระบุตำแหน่งพื้นที่พร้อมบอกความหนักเบา และเวลาที่ฝนจะตก ได้ทั้งระยะสั้นล่วงหน้า 28 ชม. และระยะยาวล่วงหน้า 5.5 วัน อันเป็นผลมาจากการวิจัยพัฒนาอัลกอริทึมประมาณค่าหยาดน้ำฟ้า (ฝน หิมะ ลูกเห็บ) จากการสังเกตของดาวเทียม และพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศเชิงเลขความละเอียดสูงสำหรับเขตร้อน (Tropics) ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวอาเซียนในการอำนวยความสะดวกการวางแผนเดินทาง. สามารถประยุกต์เป็นเครื่องมือเตือนภัยธรรมชาติล่วงหน้าบรรเทาความเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม 
ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)ผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิศวกรรมอวกาศและระบบโลก (College of Space and Earth Systems Engineering: SESE) เปิดเผยว่า ได้พัฒนานวัตกรรม www.worldmeteorology.com และ “WMApp” แอพพลิเคชั่นพยากรณ์อากาศความละเอียดสูงสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป เนื่องจากเล็งเห็นว่าผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในปัจจุบันทำให้สภาพภูมิอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ประกอบกับการพยากรณ์อากาศของประเทศยังขาดความน่าเชื่อถือ เพราะผลการพยากรณ์อากาศมีลักษณะกว้างๆ ไม่สามารถระบุรายละเอียดตำแหน่ง เวลา และความหนักเบาที่ฝนจะตกได้เนื่องจากอาศัยข้อมูลจากมาตรวัดฝนและเรดาร์.
ปัจจุบันมาตรวัดฝนมีความแม่นยำน้อยลงจากอิทธิพลของลม และตำแหน่งของมาตรวัดส่วนใหญ่อยู่ห่างกันไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ขณะที่เรดาร์วัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจคลาดเคลื่อนจากการที่น้ำและน้ำแข็งในบรรยากาศระเหยหรือระเหิดไปก่อนไม่ตกลงมาบนพื้นโลก ต่างจากการใช้ดาวเทียมที่ทำให้ได้ข้อมูลหยาดน้ำฟ้า (ฝน หิมะ ลูกเห็บ) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศด้วยเวลาอันรวดเร็ว สามารถสังเกตซ้ำพื้นที่เดิมได้บ่อยครั้ง และประหยัดค่าใช้จ่าย ที่ผ่านมาประเทศไทยจึงเผชิญกับปัญหาภัยธรรมชาติขนาดใหญ่หลายครั้ง เช่น แม่น้ำโขงตอนล่างมีระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในฤดูหนาวของปี 2552 มหาอุทกภัยในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนในปี 2554 ภัยแล้งและอุทกภัยเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
แอพ WMApp ใช้ได้ทั้งสมาร์ทโฟนระบบปฎิบัติการ Android และ iOS เปิดให้กับประชาชนทั่วไปใช้งานฟรี

     สนับสนุนเนื้อหาโดย 





สนใจสั่งซื้อ/สมัครตัวแทน
☎️Tel : 096-9326442
📱Line : @ite5115h

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ALL ABOUT HAIR

หยุดทุกโรคจากระบบน้ำเหลืองเสีย... ด้วยศาสตร์ "ภูษาบำบัด"

เกสรทั้ง5 ดอกไม้บำรุงหัวใจ