ปรับเปลี่ยนอาหารนิดหน่อย สูงวัยไร้โรค

             
                                                     ที่มา: Youtube :Mahidol Channel 

ในช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ระบบที่เกี่ยวกับการกินอาหารก็จะเสื่อมลง เช่นการเคี้ยว การกลืน การย่อยอาหารก็จะเสื่อมตามไปด้วย ดังนั้น การปรับเปลี่ยนอาหารของผู้สูงอายุจึงมีประโยชน์มากเลยนะคะ
เราไปลองไปดูกันซิว่า เมื่ออายุมากขึ้น อาหารที่รับประทานเข้าควรปรับเปลี่ยนอย่างไร 


กลุ่มโปรตีน
                               credit: https://nepalsamachardainik.com/

  เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อจะน้อยลง ในวัยนี้ต้องการโปรตีนมากขึ้นเป็นพิเศษ
นอกจากโปรตีนจะช่วยเรื่องซ่อมแซม โปรตีนยังช่วยในเรื่องของการสร้างภูมิคุ้มกันอีกด้วยค่ะ
ในวัยนี้ต้องการ ปริมาณของโปรตีน อยู่ที่ 1.2กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน หรือ ถ้าเป็นจำพวกเนื้อสัตว์ จะอยู่ที่ 4ช้อนโต๊ะ ต่อมื้อ  อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนและย่อยง่าย ไขมันน้อย เช่น

  • เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังติดมัน
  • ปลา  - ไขมันน้อย มีโอเมกา-3*  (โอเมกา-3 ช่วยต้านการอักเสบ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย)

  • ไข่ - (ถ้าไม่มีโรคเรื้อรัง ทานได้ 1ฟอง/วัน แต่ถ้ามีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน ทานได้ 3ฟอง/สัปดาห์
  • เต้าหู้
  • นม - ควรเลือกเป็นนมพร่องมันเนย นมไขมัน0% กรณีที่ทานนมไม่ได้ สามารถเปลี่ยนเป็น โยเกริตไขมันต่ำ ไม่มีน้ำตาลแทนได้ค่ะ หรือนมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม ปริมาณที่พอเหมาะจะอยู่ที่ 1-2แก้ว ต่อวัน




 กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
 ผู้สูงอายุต้องการพลังงาน 1,400-1,600 kcal/วัน 

      credit : https://www.freepik.com

           ถ้าเทียบกับข้าวแล้ว คือประมาณ 2-3ทัพพี/มื้อ นอกจากจากนี้ชนิดของคาร์โบไฮเดรตก็สำคัญอยู่ไม่น้อยค่ะ  คือเมื่อร่างกายเราเสื่อมลง การหลั่งอิซูลีน หรือการควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกายก็เสื่อมลงเช่นเดียวกัน  ดังนั้นควรเลือกอาหารในกลุ่มของดัชนีน้ำตาลต่ำ  (ต่ำกว่า55) เช่น ข้าวกล้อง เผือก ข้าวโพด  ขนมปังโฮลวีต  
          ส่วนกลุ่มคาร์โบรไฮเดรตที่ควรหลีกเลี่ยง คือกลุ่มที่มีดัชนีน้ำตาลสูง เช่นกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ขัดขาว จำพวก ข้าวขาว ข้าวเหนียว มันฝรั่ง แม้กระทั่งผลไม้บางชนิด เช่น แตงโม ทุเรียน มะขามหวาน ขนุน

กลุ่มไขมัน


credit: www.cheatsheet.com/


   ในกลุ่มผู้สูงอายุนี้การรับประทานไขมัน ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม คือไม่ควรทานเกิน 6 ช้อนชา/วัน
หรืออ 2ช้อนชา/มื้อ และควรเลือกไขมันที่ดี เช่น เนื้อสัตว์ (ปลาแซลมอน ปลาจาระเม็ด ปลานิล ปลาช่อน
ปลาะกะพง ปลาแมคคาเรล) นอกจากได้รับกรดไขมันโอเกมกา-3และยังช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดอีกด้วย

  ในกลุ่มไขมันดี ยังมีอาหารอีกจำพวกก็คือ น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดชา
รวมไปถึงถั่วเปลือกแข็ง เช่น  ถั่วลิสง แมคคาดิเมีย พิชตาชิโอ ในกลุ่มนี้จะให้ กรดไขมันโอเมกา-9 ซึ่่งโอเมกา-9 ช่วยลดระดับ LDL คอเลสเตอรอล ที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดได้ค่ะ




กลุ่มผักผลไม้


                                                                          credit:   https://fulldatabackup.com/fruits-vegetables-vital/

การทานผัก ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุคือ 4 ทัพพีต่อวัน หรือ6-8ชิ้นคำต่อมื้อ ปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณแร่ธาตุและน้ำตาลในปริมาณที่พอดีพอเหมาะไปด้วยค่ะ ผู้สูงอายุควรทานพวก ดอกกะหล่ำ บล็อคโครี่ โดยการลวกให้สุกก่อนรับประทาน ผักเหล่านี้จะช่วยแก้เรื่องท้องอืด ท้องเฟ้อและระบบขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย  ส่วนผลไม้ ควรทานเป็นผลไม้สดหลีกเลี่ยงการทานน้ำผลไม้ เพราะการทานน้ำผลไม้จะทำให้เราได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปและจะมีผลต่อน้ำตาลในเลือดอีกด้วยค่ะ


ทั้งหมดนี้เป็นการปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะกับช่วงอายุ ควรทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและการพักผ่อนในช่วงเวลาที่เหมาะสมอีกด้วย เพียงแค่นี้เราก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่ายเพื่อที่จะได้อยู่กับลูกๆหลานๆไปอีกนานเลยหล่ะค่ะ





     สนับสนุนบทความโดย 

  









ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ALL ABOUT HAIR

หยุดทุกโรคจากระบบน้ำเหลืองเสีย... ด้วยศาสตร์ "ภูษาบำบัด"

เกสรทั้ง5 ดอกไม้บำรุงหัวใจ